SUSTAINABILITY

 การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

SIF ในฐานะผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่า  เราให้ความสำคัญ  ความยั่งยืนของท้องทะเล ไม่สนับสนุนการทำประมงผิดกฎหมายทุกชนิด  โดยมีนโยบายให้มีการจัดซื้อ/จัดหาวัตถุดิบปลาทูน่าที่สามารถสอบกลับถึงแหล่งที่มา ได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามระเบียบของสหภาพยุโรปตามมาตรการ เพื่อป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม IUU (Illegal, unreported and unregulated fishing) รวมถึงการเป็นสมาชิกร่วมปฏิบัติตามข้อตกลงการอนุรักษ์ปลาโลมาระหว่างประเทศ (Agreement on the International Dolphin Conservation Program ,IDCP) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อเลือกจัดหาวัตถุดิบปลาทูน่าที่จับได้จากการทำประมง ที่ไม่ก่อให้เกิดการทำลายชีวิตของปลาโลมา

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  ประกอบกับจำนวนแรงงานด้อยฝีมือที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง  ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบปัญหาการขาดแคลนแรงงานมากที่สุดในประชาคมอาเซียน  จนกลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะในภาคการผลิตที่ใช้แรงงานอย่างเข้มข้น  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นแรงงานทดแทน  ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้แรงงานบังคับ และก่อให้เกิดความกังวลในระดับนานาชาติ  ซึ่งประเทศไทยมีอันดับที่ตกต่ำลงเป็นลำดับจากการจัดระดับสถานการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปีหรือ Trafficking in Persons Report  ประเทศไทยถูกประเมินโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้อยู่ในกลุ่มประเทศ Tier 2-Watch Listเป็นระยะเวลา 4 ปีต่อเนื่องกัน  คือ เป็นประเทศที่ถูกจับตามองเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ รัฐบาลไทยถูกเตือนว่ายังไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลขั้นต่ำ ว่าด้วยการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์  หากไม่สามารถดำเนินการให้เห็นถึงพัฒนาการในทางบวก ก็จะถูกลดอันดับไปสู่ Tier 3 ทันที  และจะมีผลให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ระงับการจัดซื้อจัดจ้าง  สำหรับสินค้าที่ผลิต หรือมีแหล่งที่มาจากประเทศไทย  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะกลุ่ม อุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งหรืออุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง จะต้องร่วมมือกันในการชี้แจง เรื่องห่วงโซ่การผลิตอาหารของแต่ละสินค้าให้ชัดเจน  สามารถพิสูจน์ว่าไม่ได้ใช้แรงงานเด็ก หรือค้ามนุษย์    ดังนั้น บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงาน ในภาพรวมของประเทศ จึงแสดงความมุ่งมั่นประกาศนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและแรงงาน เพื่อปกป้องและคุ้มครองแรงงานที่เป็นพนักงานของบริษัทฯอย่างเป็นธรรมในทุกกิจกรรมทางธุรกิจ และตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยยึด หลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด  โดยใช้ระบบการบริหารจัดการแรงงานที่ดีเทียบได้กับมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน และ เสริมสร้างให้ธุรกิจมีการพัฒนาที่ยั่งยืน  ซึ่งประกอบด้วย

  • การให้เสรีภาพอย่างประชาธิปไตย ในการรวมตัวเป็นสมาคมและการร่วมเจรจาต่อต่อรอง เคารพสิทธิของพนักงานในการร่วมเจรจาต่อรอง  อนุญาตให้พนักงานเลือกตัวแทนของตนได้อย่างเสรีร่วมกับบริษัทที่สามารถเข้าร่วมในการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาในสถานที่ทำงาน
  • ไม่เลือกปฏิบัติ กีดกัน หรือเลือกที่รักมักที่ชังต่อพนักงานโดยพิจารณา จากเพศ อายุ ศาสนา เชื้อชาติ ชนชั้น ชาติพันธ์และถิ่นกำเนิดเดิมความพิการ สัญชาติ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีพนักงานแรงงานนำเข้า (MOU) สัญชาติพม่า ทำงานร่วมกับแรงงานไทย โดยได้รับสิทธิ ค่าจ้างสวัสดิการ เท่าเทียมกับแรงงานไทย ทุกประการ
  • บริษัทได้จ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำของภาครัฐ และหรือมากกว่าที่ภาครัฐกำหนด  ตรงเวลา
  • เพื่อชั่วโมงการทำงานที่มีคุณค่า บริษัทมีมาตรการให้พนักงานทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  เพื่อป้องกันแนวโน้มที่อาจเกิดความเหนื่อยล้า และนำไปสู่อันตรายที่เกิดจากการทำงาน
  • บริษัทให้ความสำคัญกับสภาพชีวิตและการทำงานที่มีอนามัย ตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงจัดสถานพยาบาลเพื่อช่วยเหลือทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียม จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)  ที่มีประสิทธิภาพให้แก่พนักงานและ มีการตรวจหา ประเมิน ป้องกัน และตอบสนองภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน เพื่อป้องกันพนักงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยที่เกิดจาก หรือเกี่ยวข้องกับ หรือเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน
  • บริษัทไม่สนับสนุนการสรรหา ว่าจ้าง แรงงานทาส แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ แรงงานเด็กและแรงงานผู้เยาว์ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์  หรือแรงงานที่ไม่เต็มใจ  เพื่อป้องกันการกระทำที่ขาดมนุษยธรรม หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสีย และการแสวงหาผลประโยชน์จากใช้แรงงานกลุ่มดังกล่าว  ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • และสร้างขีดความสามารถอย่างเพียงพอให้กับพนักงาน จัดการศึกษาและการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ

บริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด จำกัด ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการตามระบบบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม Environment Management System และได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 14001  ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน

ระบบบำบัดน้ำเสีย

สำหรับกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เรามีการจัดการระบบน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ด้วยระบบ Anaerobic Pond ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย ที่อาศัยการทำงานของจุลชีพแบบไม่ใช้อากาศ ทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ก่อนจะส่งต่อไปบำบัดยังระบบเติมอากาศแบบ Activated Sludge ซึ่งอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ แล้วเข้าสู่บ่อ Wetland ก่อนปล่อยน้ำหลังบำบัดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยมีค่าคุณภาพน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด โดยมีการรายงานผลคุณภาพน้ำทิ้ง ผ่านเครื่อง BOD Online ส่งสัญญาณ เข้ากรมโรงงานอุตสาหกรรมตลอด 24 ชั่วโมง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า